ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล (นางาซากิ)

พิกัด: 32°46′34″N 129°52′06″E / 32.7761944444°N 129.868388889°E / 32.7761944444; 129.868388889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล
(無原罪の聖母司教座聖堂)
อาสนวิหารอูรากามิหลังปัจจุบัน
แผนที่
32°46′34″N 129°52′06″E / 32.7761944444°N 129.868388889°E / 32.7761944444; 129.868388889
ที่ตั้ง1-79 โมโทโอมาชิ นางาซากิ
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
นิกายโรมันคาทอลิก
การเข้าร่วมรายสัปดาห์เสาร์: 7:00pm
อาทิตย์: 6:00am,7:30am,9:30am
เว็บไซต์อาสวิหารอูรากามิ
ประวัติ
สถานะอาสนวิหาร
ก่อตั้งค.ศ. 1877 (1877)
สถาปัตยกรรม
แล้วเสร็จ1925, 1959
รื้อถอนเมื่อ1945

อาสนวิหารปฏิสนธินิรมล (อังกฤษ: Immaculate Conception Cathedral[1]; 無原罪の聖母司教座聖堂) หรือ อาสนวิหารนักบุญมารี (อังกฤษ: St. Mary's Cathedral)[2][3] หรือมักรู้จักในชื่อ อาสนวิหารอูรากามิ (ญี่ปุ่น: 浦上天主堂, อักษรโรมัน: Urakami Tenshudō) ซึ่งตั้งตามที่ตั้งในย่านอูรากามิ เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในย่านโมโตโอมาชิ เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ

[แก้]
รูปปั้นนักบุญอักแนสจากอูรากามิซึ่งเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ

อาสนวิหารหลังเดิมสร้างขึ้นด้วยอิฐและด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอโรมาเนสก์ เริ่มก่อสร้างในปี 1895 หลังการห้ามนับถือศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่นถูกยกเลิก หอสูงคู่ด้านหน้าของอาสนวิหารมีความสูง 64 เมตร และสร้างมาตั้งแต่ปี 1875 อาสนวิหารก่อสร้างเสร็จในปี 1925 และเป็นสิ่งก่อสร้างของศาสนาคริสต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จนกระทั่งอาสนวิหารถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดในปี 1945[4]

ระเบิดนิวเคลียร์แฟตแมนถูกทิ้งระเบิดลงนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และศูนย์กลางการระเบิดอยู่ที่อูรากามิ ห่างไปจากอาสนวิหารเพียงราว 500 เมตร ส่งผลให้อาสนวิหารถูกทำลายเสียหายทั้งหมด เนื่องจากวันฉลองการยกขึ้นสวรรค์ของพระแม่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 15 ซึ่งใกล้เข้ามานั้น ทำให้ในอาคารเต็มไปด้วยศาสนิกชนกำลังเข้าร่วมพิธีมิสซา การถล่มทันทีของอาคารและผลจากคลื่นความร้อนส่งผลให้ผู้เข้าร่วมพิธีและผู้ที่อยู่ในอาสนวิหารขณะนั้นเสียชีวิตทั้งหมดทันที[5]

ภายหลังการถกเถียงระหว่างคณะศิษยานุศิษย์ของอาสนวิหารกับรัฐบาลท้องถิ่นในการสร้างโบสถ์ขึ้นมาใหม่สิ้นสุดลง ในปี 1958 ชุมชนคาทอลิกได้ประกาศสร้างอาสนวิหารใหม่ขึ้นที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมตรงจุดที่อาสนวิหารเดิมเคยตั้งอยู่โดยใช้แปลนจากอาสนวิหารหลังเดิม รัฐบาลท้องถิ่นยอมรับการตัดสินใจและอนุมัติการก่อสร้างในปี 1959[6]

ในบรรดารูปปั้นและศาสนวัตถุที่หลงเหลือจากการทำลาย คือเศียรแม่พระแห่งนางาซากิ (Our Mary of Nagasaki) ที่มีชื่อเสียง อันเป็นรูปปั้นแม่พระที่ถูกทำลายจากแรงระเบิดจนเหลือพบเพียงแค่ส่วนศีรษะ ปัจจุบันนำประดิษฐานในอาสนวิหารหลังปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cathedral of the Immaculate Conception (Urakami Church), 長崎 (Nagasaki), 長崎県 (Nagasaki), Japan". www.gcatholic.org. สืบค้นเมื่อ 2017-01-31.
  2. Lisiero, Dario (2015-11-08). Papal Apology (ภาษาอังกฤษ). Lulu.com. ISBN 9781329668065.แม่แบบ:Circular-ref
  3. Collie, Craig (2011-08-04). Nagasaki: The Massacre of the Innocent and the Unknowing (ภาษาอังกฤษ). Granta Publications. ISBN 9781846274435.
  4. ERASMUS (29 Sep 2016). "The slow acceptance that destroying cultural heritage is a war crime". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2 October 2016.
  5. Proceedings of the Pugwash Conference on Science and World Affairs (ภาษาอังกฤษ). p. 199. ISBN 9789810231798.
  6. Diehl, Chad R. (2011). Resurrecting Nagasaki: Reconstruction, the Urakami Catholics, and Atomic Memory, 1945-1970 (PhD). Columbia University. pp. 214–232. doi:10.7916/D8TH8V1G. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]